การจัดการสารเคมี เป็นระบบควบคุมกำกับดูแลให้ห้องปฏิบัติการมีสารเคมีเท่าที่จำเป็น มีการเก็บและการใช้ที่ปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงจากสารเคมีที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของห้องปฏิบัติการ

          การจัดการสารเคมี จึงต้องครอบคลุมวัฏจักรของสารเคมีในห้องปฏิบัติการ คือ ตั้งแต่การจัดหา การเก็บ การใช้ จนกระทั่ง กำจัดทิ้ง โดยใช้สารบบข้อมูลสารเคมีเป็นเครื่องมือ เพราะการจัดการสารเคมีต้องใช้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสารเคมีในครอบครอง จึงจะสามารถบริหารจัดการเพื่อการทำงานและการรับมือกับสารเคมีอย่างถูกต้อง

 

 

ระบบการจัดการสารเคมี จึงมีสองด้าน คือ ข้อมูล และ สารเคมี ดังนี้

  1. การจัดการข้อมูลสารเคมี จัดทำสารบบสารเคมีและการจัดหาเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet, SDS) เพื่อให้มีข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการ และควบคุมความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมีได้
  2. การจัดการสารเคมี ประกอบด้วยกระบวนการต่อไปนี้
    • การจัดหาสารเคมี ที่ทำด้วยความรอบคอบ เพื่อป้องกันมิให้มีการจัดหาสารเคมีซ้ำซ้อน
    • การจัดเก็บสารเคมี ที่คำนึงถึงอันตรายของสาร และอันตรายที่เกิดจากสารเคมีที่เก็บไว้ด้วยกัน การทำปฏิกิริยากันเอง รวมถึงความสะดวกรวดเร็วในการค้นหามาใช้งาน
    • การสำรวจและคัดออกสารเคมีที่หมดอายุและเลิกใช้แล้ว เพื่อประหยัดพื้นที่เก็บและควบคุมให้ห้องปฏิบัติการมีสารเคมีเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
    • การเคลื่อนย้ายสารเคมี ที่มีการป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุ เพราะเป็นอันตรายแก่ตนเอง หรือ แพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม
    • การจัดการของเสีย เพื่อควบคุมมิให้สารเคมีปนเปื้อนหรือทำลายสิ่งแวดล้อม
    • การตรวจติดตามประเมินและรายงานผล เพื่อปรับปรุงแก้ไขการจัดการสารเคมีให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

 

ที่มา http://goo.gl/e0H2yB

banner_footer_index

banner_footer_index_01
banner-index-footer-02